น้ำบริโภคเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 60-70 โดยน้ำหนัก
เพื่อทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ภายในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ การบริโภคน้ำที่ไม่สะอาดจึงเป็นสื่อสำคัญที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
เนื่องจากเป็นแหล่งของแบคทีเรีย โปรโตซัว และไวรัส ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคท้องร่วง โรคลำไส้อักเสบ โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคตับ อับเสบ วัณโรค ฯลฯ โรคต่าง ๆ ดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาจากแหล่งสกปรก เช่น อุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น แม่น้ำ ลำคลอง และการปฏิบัติไม่ถูกสุขลักษณะของคนงานที่ไอ จาม แคะ แกะ หรือเกาบาดแผลที่เป็นหนองตามนิ้วมือ หรือผิวหนัง
ในโรงงานที่ผลิตน้ำบริโภค โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะหันไปบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดกันเป็นจำนวนมาก ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพดี บางครั้งยังพบว่า น้ำดื่มบรรจุขวดบางยี่ห้อมีปริมาณของเชื้อโรคปะปนมามากกว่าน้ำประปาเสียอีก
สำหรับผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยนั้นมีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อได้จากบริษัทผู้ผลิตเฉพาะที่มีคุณภาพดี แต่ผู้บริโภคที่ไช้บริการร้านอาหาร แทบจะไม่มีสิทธิ์เลือกได้เลย ทั้งนี้เนื่องจากร้านค้าดังกล่าวหลายแห่ง ผูกขาดเฉพาะน้ำดื่มบรรจุขวดจากผู้ผลิตบางรายที่ซื้อได้ในราคาถูก แล้วจำหน่ายในราคาเท่ากับน้ำดื่มที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพของน้ำ และความปลอดภัยของผู้บริโภคแต่อย่างใด
ซึ่งในกรณีนี้ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในสภาวะจำยอม ที่ต้องถูกเอาเปรียบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเลือกน้ำบริโภคนั้น นอกจากซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดแล้ว ยังมีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่หันมาต้มน้ำประปาเพื่อการบริโภคแทน แต่การต้มก็ไม่สามารถขจัดตะกอน สารแขวนลอย และสารประกอบคลอรีนที่ตกค้างมากับกระบวนการผลิตน้ำประปา ซึ่งสารประกอบคลอรีนนี้เป็นพิษต่อผู้ใช้น้ำ
ดังนั้นการบริโภคน้ำโดยวิธีดังกล่าว จึงควรมีการกำจัดตะกอน สารประกอบคลอรีน และสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ที่ปนมากับน้ำ โดยการติดตั้งเครื่องกรองน้ำเข้ากับท่อประปาเสียก่อน การกรองน้ำ หมายถึง การกำจัดความขุ่นของอนุภาคสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กมาก อนุภาคเหล่านี้จะมีน้ำหนักเบา ซึ่งจะไปตกตะกอนในถังตะกอนในขั้นตอนการผลิตน้ำประปา การกรองน้ำมี 2 ลักษณะคือ
-
การกรอสเบบติดผิวชั้นกรอง (Surface filtration) ได้แก่ การกรองโดยใช้แผ่นกรอง แท่นกรอง และใช้สารกรองชั่วคราว
1.1 การกรองโดยใช้แผ่นกรอง แผ่นกรองอาจเป็นผ้า หรือแผ่นโลหะเบาๆ หรือแผ่นใยสังเคราะห์
1.2 การกรองแบบใช้แท่งกรอง หรือไส้กรอง แท่งกรอง หรือไส้กรองเป็นแท่งวัตถุที่มีรูพรุนขนาดเล็กยอมให้น้ำไหลผ่านได้ แต่อนุภาดของสิ่งสกปรกต่างๆ จะติดค้างอยู่ที่ผิวของแท่งกรอง แท่งกรองแบบนี้ใช้ติดที่หัวก๊อกน้ำประปา เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งต้องนำออกมาล้างแล้วใช้ใหม่
1.3 การกรองแบบใช้สารกรองชั่วคราว ใช้กำจัดอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก หรืออนุภาคของน้ำมัน และยังสามารถกำจัดแบคทีเรียได้ด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้กับน้ำที่มีปริมาณไม่มากนัก และต้องเป็นน้ำที่ค่อนข้างสะอาด มีสิ่งเจือปนน้อย ควรเลือกใช้วิธีนี้เมื่อต้องการน้ำที่สะอาดมากๆ การกรองชนิดนี้จะฉาบผิวเครื่องกรองด้วยสารไดอะโตมาเชียสเอิร์ท (di-atomaceous earth) ให้มีความหนาประมาณ 3.5 มม. เมื่อกรองน้ำจนกระทั่งอุดตัน สารกรองจะหมดประสิทธิภาพ ต้องขูดออกทิ้งไป
-
การกรองแบบติดค้างในชั้นกรอง (fil-tration through a filter bed) เป็นการกรองโดยให้น้ำไหลผ่านตัวกลาง (media) ที่มีรูพรุน เช่น ทราย ถ่าน กรวด หรือตัวกลางอื่นๆ ที่มีรูปร่าง เป็นเม็ด น้ำจะไหลแทรกไปตามรูพรุนของตัวกลางจนเต็ม และไหลทะลุผ่านช่องว่างของรูพรุนไปได้โดยสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำ จะติดค้างอยู่ตามช่องว่างของตัวกลาง
ความสามารถในการกรองชนิดนี้ขึ้นกับขนาดของตัวกลาง และอัตราการไหลของน้ำ ถ้าน้ำไหลร็วมากเกินไปประสิทธิภาพการกรองจะลดลง ส่วนประกอบของเครื่องกรองน้ำ เครื่องกรองน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวเครื่องและสารกรอง
ตัวเครื่องส่วนใหญ่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม (stairless steel) นอกจากนี้อาจทำด้วยสารสังเคราะห์ เช่น โพลีโพรพิลีน (polypro-pylene) ภายในตัวเครื่องจะบรรจุสารกรองไว้สารกรอง มีหน้าที่กำจัดความขุ่น ความกระด้าง สี กลิ่น สารแขวนลอย อิออนต่างๆ ฯลฯ ออกจากน้ำ ซึ่งการกรองจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นกับประเภทและชนิดของสารกรอง เครื่องกรองอาจบรรจุสารกรองตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการกรอง
เครื่องกรองแบ่งตามประเภทของการจัดเรียงสารกรอง ได้ดังนี้
-
เครื่องกรองสารกรองชนิดเดียว นิยมใช้ทรายเป็นสารกรอง มีการจัดเรียงโดยเม็ดเล็กเรียงอยู่ด้านบน เม็ดใหญ่เรียงอยู่ด้านล่าง ประสิทธิภาพของการกรองอยู่ที่ผิวของชั้นทรายกรองประมาณ 2-3 นิ้วเท่านั้น และเครื่องจะตันเร็ว ไม่เป็นที่นิยมใช้มากนัก
-
เครื่องกรองสารกรองสองชนิด สารกรองประเภทนี้นิยมใช้ทราย และถ่านแอนทราไซต์โดยจัดเรียงถ่านแอนทราไซต์อยู่ชั้นบน และทรายอยู่ชั้นล่าง (ถ่านแอนทราไซด์มีขนาด 1.0 มม. ความถ่วงจำเพาะ 1.50 ทรายมีขนาด 0.5 มม. ความถ่วงจำเพาะ 2.65) การจัดเรียงแบบนี้มีประสิทธิภาพการกรองดึกว่าแบบใช้สารกรองชนิดเดียว
-
เครื่องกรองสารกรองหลายชนิด สารกรองที่นิยมใช้ได้แก่ ทราย ถ่านแอนทราไซต์ ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) ฯลฯ ส่วนใหญ่ นิยมใช้สารกรองตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป และการกรองจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า 2 ประเภทแรก ทั้งนี้การเรียงสารจะต้องเรียงจากสารเม็ดเล็ก อยู่ด้านล่างและสารเม็ดใหญ่อยู่ด้านบน
สารกรองแบ่งตามชนิดได้ดังนี้
-
ทราย (Sand) มีหน้าที่กรองความขุ่นสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง ตะกอนต่างๆ ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ทรายที่จะนำมาใช้กรองต้องทำความสะอาดก่อนและแช่กรดเกลือเข้มข้นประมาณ 20-24 ชม. เพื่อกำจัดหินปูนที่พอกอยู่บนเม็ดทราย ความละเอียดของการกรองขึ้นกับขนาดของทราย ที่นิยมใช้จะมีขนาด 0.2-0.4 มม.
-
ถ่านแอนทราไซต์ (arthracite coal) ใช้กรองความขุ่นและตะกอนต่าง ๆ เช่นเดียวกับทราย แต่มีข้อดีกว่าทรายคือ การกรองโดย ถ่านแอนทราไซต์ จะไม่มีซิลิกา (silica) หลุดรอดออกไปกับน้ำที่กรองได้ ซิลิกานี้เป็นตัวทำให้เกิดตะกอนแข็งในหม้อน้ำ และล้างออกได้ยาก อุตสาหกรรมที่ไม่ต้องการซิลิกาจึงนิยมใช้ถ่านแอนทราไซต์ในเครื่องกรอง
-
ไดอะโตมาเชียส เฮิร์ท (diatoma-ceous earth) เป็นสารชนิดผงที่เกิดจากพวกไดอะตอม (diatom) ซึ่งเป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วไม่เน่าสลาย (fossil) ใช้กรองแบคทีเรีย โดยปกติจะใช้ผงกรองชนิดนี้ประมาณ 1.0-2.0 ออนซ์ ต่อพื้นที่กรอง 1 ตารางฟุต สามารถกรองน้ำได้ประมาณ 1,000 แกลลอนต่อผงกรอง 5.50 ออนซ์ และการกรองจะมีประสิทธิภาพดี ต้องใช้กรองน้ำที่มีความขุ่นไม่เกิน 200 ppmn
-
ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เป็นสารกรองเช่นเดียวกับถ่านแอนทราไซต์ แต่สามารถกำจัดกลิ่น สี รส และอิออนต่างๆ ของเหล็กและแมงกานีส โดยการดูดซับ (absorb) สารต่าง ๆ และคอลลอยด์ (colloids) ไว้ในรูพรุนจำนวนมากมายที่พื้นผิว นอกจากนี้ถ่านกัมมันต์ยังสามารถดูดซึมคลอรีนทั้งในรูปของคลอรีนอิสระ และสารประกอบตกค้างได้อีกด้วย
-
สารกรองไฟเบอร์ (fibre filter) ใช้กรองความขุ่น และตะกอนในเครื่องกรองแบบใช้ความดัน ไส้กรองทำด้วยไนลอน ด้วย เซลลูโลสอะซิเตด เศษโลหะอัดตัวแน่น กระดาษและผ้า การใช้สารกรองชนิดนี้ต้องเลือกใช้กับงานให้เหมาะสม สำหรับไส้กรองที่ทำด้วยเศษโลหะอัดตัวแน่นจะสามารถกรองน้ำกรด และน้ำด่างได้ด้วย
-
ทรายเฟอรโร (ferro sand) เป็นทรายชนิดพิเศษ ได้มาจาก green sand zeolite ที่ทำให้บริสุทธิ์ มีวิธีใช้เช่นเดียวกับทราย มีขนาดตั้งแต่ 16-60 เมช (mesh) สามารถกรองเหล็กแมงกานีส ไฮโดรเจนซัลไฟด์และสารอินทรีย์ได้ด้วย สารกรองชนิดนี้เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเสื่อมสภาพ สามารถทำให้มีประสิทธิภาพเท่าเดิม โดยล้างด้วยด่างทับทิม หรือคลอรีน หรือวิธีเป่าอากาศลงในน้ำ
มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ใช้กำจัดอิออนต่าง ๆ
-
เรซิน (resin) เป็นสารสังเคราะห์ที่ที่แตกตัวอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำกระด้าง เรซินนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะหมดความสามารถในการแลกเปลี่ยนอิออน ต้องมีการล้างด้วยสารละลายที่เหมาะสม เช่น น้ำเกลือ สำหรับระยะของการล้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี 6 เดือน คุณลักษณะของเครื่องกรองที่มีจำหน่ายในท้องตลาดโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นแบบท่อคู่ โดยท่อแรกจะเป็นทางน้ำเข้า บรรจุสารกรองตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ได้แก่ ถ่านกัมมันต์ แอนทราไซต์ ทรายเฟอร์โร และสารกรองชนิดอื่นๆ เพื่อกำจัดตะกอน สารแขวนลอย กลิ่น สี รส และคลอรีนในน้ำก่อนที่จะส่งต่อไปยังท่อที่สอง ท่อตัวที่สองนี้นิยมบรรจุพวกเรซินไว้ทั้งหมด
เพื่อเป็นการกำจัดอิออนต่างๆ ออกจากน้ำ
คุณภาพของน้ำจากเครื่องกรองน้ำ กับการบริโภค
น้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองแล้ว เข้าเครื่องกรองมีประสิทธิภาพดีจะได้น้ำกรอง ที่สะอาดใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสารแขวนลอย หรือตะกอนใดๆ เจือปน แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า เป็นน้ำที่ปราศจากเชื้อโรค ดังนั้นการนำน้ำจากเครื่องกรองมาใช้ในการบริโภค จึงควรทำการต้มให้เดือดเป็นระยะเวลาประมาณ 20 นาที จึงจะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปนมากับน้ำให้หมดไป
การเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรอง ได้แก่
-
จุดประสงค์ในการซื้อเครื่องกรองน้ำ เพื่อการกำจัดอะไร เช่น ความขุ่น ตะกอน กลิ่น สี รส หินปูน คลอรีน เชื้อจุลินทรีย์ สนิมเหล็ก ความกระด้าง อิออนต่างๆ ทั้งนี้ ต้องสังเกตจากน้ำที่จะนำมากรองว่ามีลักษณะ เช่นใด ก็เลือกใช้สารกรองตามชนิด และความสามารถในการกรอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
-
ปริมาณน้ำที่ต้องการกรอง หากต้องการกรองน้ำปริมาณมาก ควรเลือกเครื่องกรองที่มีขนาดใหญ่ และบรรจุสารกรองในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่จะกรอง แต่ถ้าต้องการกรองน้ำในปริมาณน้อย ควรเลือกใช้เครื่องกรองขนาดเล็กก็เพียงพอ และเครื่องกรองขนาดเล็กมักจะมีราคาถูกกว่าเครื่องกรองขนาดใหญ่
-
วัสดุที่ใช้ทำเป็นตัวเครื่องกรอง ควรเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
ต่อผู้บริโภค จากการสำรวจพบว่าเหล็กไร้สนิม (stainless steei) ได้รับความนิยมสูงสุด ส่วนตัวเครื่องที่ทำจากวัสดุพวกพลาสติกนั้น ควรตรวจสอบก่อนว่า เป็นพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารได้หรือไม่ หากสงสัยควรสอบถามจากบริษัทผู้จำหน่าย หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้
-
ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่า บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องกรองน้ำได้รับการรับรองคุณภาพน้ำจากเครื่องกรองว่า เป็นน้ำบริโภคมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังต่อไปนี้หรือไม่ อันได้แก่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) องค์การอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ จากที่กล่าวมาทั้งหมดในการเลือกซื้อ เครื่องกรอง ควรพิจารณาในทุก ๆ ประเด็นประกอบกัน และในขณะนี้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กำลังเร่งดำเนินการร่างมาตรฐานของเครื่องกรองน้ำ เพื่อให้เครื่องกรองน้ำที่ผลิตขึ้นมาจำหน่าย มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด อันจะเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำได้ดียิ่งขึ้น
โดย เพ็ญพิชชา ทองมา
เอกสารอ้างอิง
-
ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ เอกสารประกอบการสอน
คณะวิชาเทคนิคเคมี วิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ
-
เทคโนโลยี เอกสารเพื่อการเผยแพร่, “เรื่องของน้ำดื่มบรรจุขวด” มิถุนายน 2530 : 6-12
-
ปรียา วิบูลย์เศรษฐ์ “แบคทีเรียเกี่ยวข้องกับน้ำบริโภดอย่างไร” วารสารอุตสาหกรรมเกษตร (กันยายน-ธันวาคม 2533) : 46-49
-
ไพรัตน์ โสภโณดร “คุณภาพน้ำบริโภค” วารสารอาหารมระอุดสาหกรรมเกษตร กรกฎาคม 2532:61-67
-
พงษ์ธร จรัญญากรณ์ “เครื่องกรองน้ำ” ทักษะ พฤศจิกายน 2535 : 66-67
-
วารุณี ปาละกูล และคณะ “การสำรวจสุข ลักษณะของน้ำบริโภคบรรจุขวคที่จำหน่ายในประเทศ” วารสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 1-4, 2530 : 345-351
-
วรรณวิภา ชุณทวงศ์ “น้ำดื่มน้ำใช้” นิตยสารยาสูบ กันยายน-ตุลาคม 2530 : 21-23
-
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี “เครื่องกรองน้ำ” สคน.สาร มิถุนายน : 8-7
ลดราคา!
6,560.00฿
ลดราคา!
8,990.00฿
ลดราคา!
8,570.00฿
ลดราคา!
11,390.00฿